NFPA-G Screw Lock, NFPA-G Auto Lock, NFPA-L Manual Lock, Non-Locking, and HMS Carabiner

คาราบิเนอร์ Carabiners หรือ Karabiner คือ ห่วงเกี่ยวนิรภัย ที่ใช้ประกอบการโรยตัว หรือใช้งานกับเชือกและอุปกรณ์อื่นๆ สามารถใช้เป็นจุดเชื่อมโยง, ยกสิ่งของ, ลากรถ, ใช้เกี่ยวหรือดึงอุปกรณ์ต่างๆ และเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างไร ผมได้รวบรวมข้อมูลมาแบ่งปันกันครับ

คาราบิเนอร์ Carabiners เป็นห่วงเกี่ยวที่มีส่วนของโครงและก้านเปิด ใช้ในการรับน้ำหนักของวัตถุหรือบุคคล โดยยึดโยงน้ำหนักจาก 2 จุดเข้าด้วยกัน ซึ่งคาราบิเนอร์ต้องมีความแข็งแรงมากพอ ที่จะรับนำหนักนั้นๆเอาไว้ และหลายครั้งคาราบิเนอร์ก็มีบทบาท ในการใช้รับน้ำหนักบุคคล ในการกู้ภัย ซึ่งต้องเอาชีวิตคนไปแขวนอยู่บนเชือกและอุปกรณ์ไม่กี่ชิ้น ที่ต้องเลือกใช้งานอย่างเข้าใจ เพราะหากเลือกคาราบิเนอร์ผิดประเภท เจ้าห่วงเล็กๆก็อาจทำให้เกิดอันตรายใหญ่หลวงถึงชีวิตได้เลยทีเดียว

ถูกแยกออกตามประเภทการใช้งาน คาราบิเนอร์ มี 4 ประเภทการใช้งานหลักๆ

1. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่อการใช้งานเชิงกีฬา

2. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้รับน้ำหนักบุคคลคนเดียว งานบนที่สูง หรือการป้องกันตก

3. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่องานกู้ภัย ที่ต้องรับน้ำหนักมากกว่าบุคคลคนเดียว

4. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่อประดับตกแต่ง หรือไม่ได้รับน้ำหนักมาก เช่น ทำเป็นพวงกุญแจหรือของที่ระลึก

How much do you trust your carabiners?

คาราบิเนอร์ที่ใช้เกี่ยวพวงกุญแจ หรือประดับตกแต่ง มักจะมีราคาไม่สูง เช่น ใช้ทำเป็นพวงกุญแจ คล้องถุงมือ, คล้องหูกางเกง ฯ วัตถุประสงค์เพื่อ รับน้ำหนักอุปกรณ์เล็กๆ และไม่มีการระบุอัตราการรับน้ำหนัก ซึ่งไม่ควรจะนำไปใช้ในการป้องกันการตกจากที่สูง หรือใช้ในงานกู้ภัย เพราะอาจเกิดอันตรายได้ คาราบิเนอร์ประเภทนี้ที่รู้จักกันดี คือ Grimlock , Taclink ฯ

คาราบิเนอร์ที่ใช้งานเชิงกีฬา เป็นคาราบิเนอร์ที่ราคาถูกที่สุด ในบรรดาคาราบิเนอร์ ที่มีการระบุอัตราการรับน้ำหนัก และมักจะออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักบุคคลเพียงคนเดียว หลักในการออกแบบคาราบิเนอร์เชิงกีฬา คือ ต้องมีขนาดกะทัดรัดและเบา เช่น คาราบิเนอร์สำหรับปีนเขา, ไต่หน้าผา

คาราบิเนอร์ที่ใช้งานป้องกันตก ถูกออกแบบให้ทนทาน ส่วนมากจะผลิตจากเหล็ก แต่รูปทรงอาจจะดูไม่ทันสมัย และทดสอบการรับน้ำหนักบุคคลคนเดียว เพื่อป้องกันการตกจากที่สูง มาตรฐานความปลอดภัยกำหนดให้ทนแรงดึง ได้ประมาณ 22 Kn.

คาราบิเนอร์ที่ใช้ในงานกู้ัภัย เป็นคาราบิเนอร์ที่ทนต่อการรับน้ำหนักมากที่สุด ในบรรดาคาราบิเนอร์ ซึ่งมาตรฐาน NFPA 1983(2006) กำหนดให้รับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 27 Kn.

ความทนทานของคาราบิเนอร์ ใช้หน่วยวัดเป็นกิโลนิวตัน KiloNewtons (kN) 1 กิโลนิวตัน เท่ากับ 101.97 กิโลกรัมของแรง หรือ Kilogram force วิธีง่ายๆในการจำ คือ 1 กิโลนิวตัน เทียบเท่ากับน้ำหนักคนหนึ่งคน พร้อมด้วยอุปกรณ์ (อุปกรณ์ประจำตัว, อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย) น้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม

ดังนั้นถ้าคาราบิเนอร์ระบุว่า รับน้ำหนักหรือทนแรงดึงได้ 30 kN อาจดูเหมือนทนทานมาก แต่ตัวเลขอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นมาตรฐานความปลอดภัย กำหนดให้ไม่ควรใช้คาราบิเนอร์ รับน้ำหนักเต็มอัตราตามที่ระบุไว้ แต่ควรใช้ปัจจัยด้านความปลอดภัย หรือที่เรียกว่า safety factor ซึ่งเป็นน้ำหนักสูงสุด ที่คาราบิเนอร์สามารถรับได้อย่างปลอดภัย โดยสำหรับงานกู้ภัยทั่วไปจะใช้อัตรา 10:1 ส่วนงานดับเพลิงกู้ภัยจะใช้อัตรา 15:1 เนื่องจากน้ำหนักอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีมาก ดังนั้นถ้าคาราบิเนอร์ทนแรงดึงได้ 30 kN ควรจะใช้รับน้ำหนัก สูงสุดที่ 3 kN หรือประมาณ 300 กิโลกรัม ยิ่งเมื่อต้องใช้รอกทดแรง หรือน้ำหนักที่เคลื่อนไหวเข้ามาเกี่ยวข้อง การรับน้ำหนักคนเพียงคนเดียว สามารถทำให้คาราบิเนอร์หักได้ิอย่างง่ายดาย จากแรงดึงที่เกิดขึ้นในการทดแรงนั้นเอง

ในยุโรป คาราบิเนอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้รับน้ำหนักบุคคล จะต้องผ่านมาตรฐาน EN 362:2004 “ห่วงเกี่ยวนิรภัย สำหรับอุปกรณ์ป้องกันภัยประจำบุคคล ในการป้องกันการตกจากที่สูง ” มาตรฐานนี้ระบุว่า คาราบิเนอร์จะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุด (minimum breaking strength) ที่ 20kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 15kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 7kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด ซึ่งเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของคาราบิเนอร์

ในอเมริกา ใช้มาตรฐานสมาคมดับเพลิงกู้ภัย NFPA 1983 (2006 ed) กำหนดความปลอดภัยของ “เชือกที่ใช้ในการกู้ภัย และอุปกรณ์ที่ใช้งานในสภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้อง” ครอบคลุมคาราบิเนอร์สำหรับ ‘light-use’ เช่น คาราบิเนอร์ที่ออกแบบเพื่อรับน้ำหนักบุคคล โดย NFPA 1983:06 กำหนดให้คาราบิเนอร์ ‘Light-Use’ จะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุดอยู่ที่ 27kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 7kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 7kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด

NFPA 1983:06 ระบุให้แยกประเภทคาราบิเนอร์ เพื่อใช้รับน้ำหนักงานกู้ภัยโดยเฉพาะ เป็นแบบ ‘General-Use’ ซึ่งคาราบิเนอร์ที่ใช้ในงานกู้ภัยจะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุดที่ 40kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 11kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 11kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด โดยที่ NFPA lowered open-gate strength requirements for carabiners are because unlike EN362, NFPA กำหนดให้คาราบิเนอร์มี to have a locking gate mechanism ซึ่งมีมาตรฐานอื่นๆในการกำหนดความปลอดภัย แต่ มาตรฐาน EN362 และ NFPA 1983 เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับ และกำหนดให้แสดงอัตราการรับน้ำหนัก ลงบนคาราบิเนอร์ทุกตัว

ข้อกำหนดตามมาตรฐานมีอีกมากมาย แต่หากคาราบิเนอร์มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ในด้านรูปทรงและลักษณะภายนอก ก็ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ จุดมุ่งหมายในการใช้งานเป็นตัวกำหนดรูปทรง วัสดุ และคุณสมบัติของคาราบิเนอร์ วัสดุที่ใช้ทำคาราบิเนอร์โดยส่วนใหญ่ ทำจากอลูมิเนียม หรือเหล็ก แต่คาราบิเนอร์รุ่นใหม่ทำจากวัสดุพิเศษ เช่น ไทเทเนียม

สำหรับ CMC Rescue เป็นผู้ผลิตคาราบิเนอร์เพื่องานกู้ภัย และมีคาราบิเนอร์ซึ่งทำจากแสตนเลสทุกชิ้นส่วน แม้แต่สปริงด้านใน รูปทรงของคาราบิเนอร์ ส่วนมากมักเป็นรูปตัว D เนื่องจากเป็นรูปทรงที่ช่วยเอื้อให้การรับน้ำหนัก อยู่ในจุดที่แข็งแรงที่สุดของคาราบิเนอร์ได้ง่าย Major Axis และจุดรับน้ำหนักจะอยู่ห่างจากก้านเปิด ช่วยลดอันตรายจากการรับน้ำหนักในจุดที่อ่อนแอที่สุด Minor Axis ลงได้

คาราบิเนอร์ในยุคแรกเริ่ม จะมีก้านเปิดเป็นแบบไม่มีตัวล็อค หรือแบบหมุนล็อคเป็นส่วนมาก

คาราบิเนอร์ที่ใช้ในเชิงกีฬา บางครั้งใช้คาราบิเนอร์ที่ไม่มีระบบล็อค หรือใ้ช้ก้านเปิดแบบลวด เพื่อช่วยลดน้ำหนักอุปกรณ์ ส่วนคาราบิเนอร์แบบใหม่มักใช้ก้านเปิดแบบล็อคอัตโนมัติ Auto-locking หรือบิดหมุนล็อคเข้าสลัก manual-locking คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ จะล็อคทันทีที่ก้านเปิดถูกปิด ซึ่งต้องใช้การบิดและกดเพื่อเปิด 2 ขั้นตอน หรือดันลง แล้วจึงหมุน และกดเพื่อเปิด 3 ขั้นตอน

คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ ช่วยให้เปิดและปิดได้สะดวกรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลว่าจะลืมล็อคคาราบิเนอร์ ส่วนคาราบิเนอร์แบบบิดหมุนล็อค Manual-locking เป็นคาราบิเนอร์ดีไซน์ใหม่ล่าสุด ซึ่งผู้ใช้ต้องบิดเพื่อให้ก้านเปิดเข้าล็อค แทนที่จะใช้การหมุนเกลียวล็อคซึ่งจะล็อคได้ช้ากว่า

นอกเหนือจากการใช้งานที่ง่ายขึ้น คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ และบิดหมุนล็อคเข้าสลัก ยังเป็นคาราบิเนอร์ที่เหมาะกับงาน ที่มีแรงสั่นสะเทือนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแรงสั่นสะเทือนสามารถทำให้คาราบิเนอร์แบบเกลียวหมุน คลายเกลียวออกได้ เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหากต้องใช้งานบนอากาศยาน เช่น เฮลิคอปเตอร์

ยังมีเรื่องราวและข้อสังเกตุเกี่ยวกับคาราบิเนอร์อีกมากมาย เอาไว้่ผมจะมาเล่าในโอกาสต่อไปครับ

Tags: , , , , ,