ในฐานะที่ทีมงานของเรา เป็นผู้ให้การอบรมการกู้ภัยด้วยอากาศยาน (Helicopter Rescue) ให้กับพล. ร.9 และตรวจสอบความปลอดภัยของการแสดง ในวันกองทัพไทยที่ผ่านไปอย่างเรียบร้อยนั้น เราได้กลับมาทบทวนและวิเคราะห์ภาพการฝึกที่ได้บันทึกไว้ และพบปัญหาด้านความปลอดภัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่อาจถูกมองข้ามไปในการปฏิบัติ ซึ่งเรื่องเดียวกันนี้เอง จะเป็นข้อมูลให้กับหลายๆหน่วยงานในประเทศ และย้ำถึงความสำคัญของการเลือกใช้และปฏิบัติกับอุปกรณ์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย เราจึงนำบทเรียนจากการฝึก ซึ่งโชคดีที่ยังไม่เกิดความสูญเสีย มาฝากให้ทราบกันครับ

สถานการณ์จำลองที่ได้กำหนดขึ้นนั้น ได้มีการใช้เฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วยทีมโรยตัวด้วยเชือกแบบเร่งด่วน (Fast Rope) ในเฮลิคอปเตอร์ลำแรก และทีมโรยตัว (Rappelling) ในลำที่สอง ซึ่งทั้ง 2 ทีมจะปฏิบัติภารกิจโรยตัวและมีการยิงปะทะผู้ก่อการร้าย ทั้งในอาคารและบนภาคพื้น หลังจากการยิงปะทะสิ้นสุดลง เฮลิคอปเตอร์ทั้ง 2 ลำ จะทำการบินกลับมารับทหารผู้บาดเจ็บจากการปะทะจำนวน 2 นาย เพื่อนำส่งไปรักษายังหน่วยแพทย์ใกล้เคียงให้ทันท่วงทีต่อไป

ในสถานการณ์จำลองที่กำหนดนั้น ได้มีการใช้เฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วย ทีมโรยตัวด้วยเชือกแบบเร่งด่วน (Fast Rope) ในระหว่างแสดงการสาธิตอยู่นั้น เจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติภารกิจจำลอง ซึ่งต้องทำงานภายใต้เวลาที่จำกัด เพื่อกระชับภารกิจให้จบอย่างรวดเร็ว

ในส่วนของชุดที่จะทำการโรยตัวนั้น จะต้องใช้เวลาพอสมควรสำหรับการปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ใส่ถุงมือที่หลวมและหนา ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ประกอบอากาศยาน ในขณะที่สวมถุงมืออยู่ได้ รวมไปถึงการปิดล็อคคาราบิเนอร์อย่างถูกต้องปลอดภัยด้วยเช่นกัน

จากการที่ต้องปฏิบัติให้ทันเวลาการแสดงนั้น ส่งผลให้มีความเร่งรีบเกิดขึ้น ทำให้การใช้งานคาราบิเนอร์นั้น ไม่ได้ถูกปิดล็อคอย่างสมบูรณ์ ซึ่งการทำเช่นนี้อาจทำให้เกลียวล็อคของคาราบิเนอร์ คลายและเปิดออกได้อย่างรวดเร็ว

จากการวิเคราะห์ด้วยภาพวีดิโอแล้ว เราพบสาเหตุของปัญหา กล่าวคือคาราบิเนอร์ทั้งหมดในการแสดงสาธิตการเคลื่อนย้ายด้วยอากาศยาน (Short-Haul) ครั้งนี้ ไม่ได้ถูกล็อค ซึ่งคาราบิเนอร์จะเป็นอุปกรณ์เกี่ยวโยงระหว่างเชือกและผู้ปฏิบัติเพียงชิ้นเดียว ที่เจ้าหน้าที่จะต้องฝากชีวิตไว้ขณะที่ห้อยตัวอยู่ใต้เฮลิคอปเตอร์ ที่ความสูงกว่า 150 เมตร เหนือพื้นดิน ซึ่งหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นกับคาราบิเนอร์แล้ว เจ้าหน้าที่ท่านนั้นอาจจะตกลงมาบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเลยทีเดียว

จากภาพที่เราบันทึกไว้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่กู้ภัยและผู้บาดเจ็บ ได้หมุนเกลียวล็อคคาราบิเนอร์ไว้ อย่างเร่งรีบและไม่สมบูรณ์ เนื่องจากใช้ถุงมือที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกลียวไม่ได้ถูกหมุนล็อคจนสุด ประกอบกับแรงสั่นสะเทือนของเฮลิคอปเตอร์ อาจจะทำให้เกลียวล็อคคลายออกได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 นาที

ข้อแนะนำ :

การเลือกใช้ถุงมือที่เหมาะสมนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญในแต่ละปฏิบัติการณ์ เพื่อให้สามารถใช้งานมือของเราได้อย่างปกติแม้ในขณะสวมถุงมือ ซึ่งถุงมือหนังแบบหนาและหลวมนั้น อาจจะมีราคาถูก แต่จำเป็นต้องแลกด้วยความเสี่ยงถึงชีวิตหรือไม่ เพราะผู้สวมใส่จะไม่สามารถใช้มือหรือนิ้ว สำหรับทำงานทั่วไปได้อย่างถนัดอย่างแน่นอน และส่งผลไปถึงความอันตรายนานับประการที่อาจเกิดขึ้นได้ ปัญหาเรื่องความปลอดภัยนั้น อาจมีสาเหตุโดยตรงมาจากการเลือกใช้ถุงมือที่ไม่เหมาะสม

นอกเหนือจากนี้ แนะนำให้มีการใช้คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ (Auto-Locking) ซึ่งเหมาะสมสำหรับการใช้งานกับอากาศยาน ที่มีปัจจัยเรื่องแรงสั่นสะเทือน แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้งานคาราบิเนอร์แบบเกลียวล็อค ท่านต้องแน่ใจและมั่นใจได้ว่า เกลียวล็อคนั้นได้ถูกหมุนล็อคจนสุดแล้วเท่านั้นก่อนการปฏิบัติ

สนใจสอบถามข้อมูล จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของเรา ได้ที่ Safe House ครับ

Tags: , , , , , , ,