fbpx

Posts Tagged NFPA 1983

ผ่อนหนักให้เบา ด้วยรอกทดแรง

   

Safe House นอกจากจะมีสินค้าสำหรับผู้มีไลฟ์สไตล์ทันสมัย เลือกคุณภาพให้กับทุกกิจกรรมของชีวิต ซึ่งผมและทีมงานตั้งใจทำข้อมูลมาฝากกันอย่างสม่ำเสมอ เรายังมีสินค้าที่ต้องใช้ทักษะพิเศษ สำหรับกิจกรรมที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น รอกทดแรง ซึ่งหลายท่านอาจจะเคยผ่านหูผ่านมามาบ้าง หรือบางท่านอาจจะยังไม่เคยรู้จัก เพราะเจ้ารอกที่บางท่านอาจจะคิดว่าต้องใช้กับโซ่หรือสลิงเส้นใหญ่ๆ และมีใช้เฉพาะแต่ในงานอุตสาหกรรม, งานก่อสร้างหรือกิจกรรมในโรงงาน

วันนี้รอกถูกทำให้มีขนาดเล็กและทนทาน และเมื่อใช้กับบุคคลและสิ่งมีชีวิต หรือการกู้ภัยที่ต้องมีการผ่อนแรงจากการใช้ดึงน้ำหนักมากๆ รอกก็มีการรับรองคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัย และกลายเป็นอุปกรณ์ประจำบ้าน, คอนโด, สวนสนุก, ทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์, การเตรียมตัวหนีภัยจากอาคารสูง, แม้แต่ฟาร์มม้า, ปางช้าง ฯ ทุกวันนี้รอกกลายเป็นอุปกรณ์ใกล้ตัว ที่น่าศึกษาและนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น การนำมาติดตั้งเพื่อดึงสิ่งของ, แขวนอุปกรณ์หนักๆกับโครงสร้างของโรงจอดรถ, ผ่อนอุปกรณ์ต่างๆลงจากที่สูง, งานตัดต้นไม้ใหญ่, โหนเชือกจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง Zipline, ทำเชือกข้ามลำน้ำฯ วันนี้ผมนำข้อมูลรอกขนาดพกพาซึ่งใช้งานกับเชือก มาให้ชมภาพกันเบื้องต้นครับ

รอกกู้ภัย Rock Exotica รุ่น PMP ย่อมาจาก (Prusik Minding Pulley) เป็นรอกกู้ภัยที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานกับเชือกพรูสิค หรือเงื่อนใช้เบรคเชือกได้ ใช้งานเพื่อจับและเบรคเชือกโดยที่เงื่อนเชือกจะไม่เข้าไปขัดอยู่ในล้อรอก เพื่อช่วยผ่อนแรงในการดึงขึ้นหรือผ่อนลงจากที่สูงครับ รอกชนิดนี้ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบเชือก และด้วยความที่มีขนาดเพียงแค่ฝ่ามือนี่เอง จึงเหมาะสำหรับนำไปใช้ติดตั้งในงานกู้ภัยได้หลากหลาย ทั้งเข้าช่วยดึงขึ้นและผ่อนบุคคลหรือสิ่งของลงจากที่สูง เช่น หน้าผา, ต้นไม้, นั่งร้าน และการทำงานบนที่สูงบนอาคาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น บนหอสูง, บนตึกหรือดาดฟ้า ฯ

แผ่นรอกด้านข้างบิดตัวได้เพื่อใส่เชือก ผลิตจากอลูมิเนียมคุณภาพสูง โดยใช้การตัดแผ่นอลูมิเนียมตันและหนา ด้วยเครื่องจักรที่สามารถกำหนดความหนา-บางของจุดที่ต้องการ ทำให้รอกมีความทนทานสูง เพราะผลิตจากแผ่นอลูมิเนียมแผ่นเดียวไร้รอยต่อครับ ล้อรอกก็ใช้เป็นระบบลูกปืน Ball bearing แรงเสียดทานต่ำ แกนรอกจึงหมุนได้ลื่นและคล่องตัว ตัวรอกมีน้ำหนักเบาและมีขนาดกะทัดรัด รอกกู้ภัย Rock Exotica รุ่น PMP มีให้เลือกใช้งาน 2 แบบ แบ่งเป็น

รอก กู้ภัยชนิดรอกคู่ รุ่น PMP ขนาด 2 นิ้ว ออกแบบและทดสอบเพื่อใช้งานร่วมกับเชือกขนาดสูงสุด 13 มม. รับแรงดึงได้ 44 kN (9,891 ปอนด์) ผ่านการทดสอบจาก UL

รอกกู้ภัยชนิดรอกเดี่ยว รุ่น PMP ขนาด 2 นิ้ว ออกแบบและทดสอบเพื่อใช้งานร่วมกับเชือกขนาดสูงสุด 13 มม. รับแรงดึงได้ 36 kN (8,093 ปอนด์) ผ่านการทดสอบจาก UL

รอกกู้ภัย Rock Exotica Mini Machined Pulley เป็นรอกกู้ภัยที่ออกแบบมาให้ใช้กับเชือกขนาดไม่เกิน 11 มม. ดังนั้นจึงเป็นรุ่นที่มีขนาดเล็กที่สุด ในบรรดารอกที่ผมกล่าวถึงมาครับ น้ำหนักจึงเบา เหมาะสำหรับใช้งานในงานภาคป่าภูเขา ที่ต้องเดินทางระยะไกลเข้าไปติดตั้ง, การทำงานบนที่สูง, ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบเชือก แกนของรอกมีความเรียบ ไม่มีส่วนแหลมคม หรือเทอะทะให้สัมผัสกับพื้นผิวของอุปกรณ์อื่นๆ รอกกู้ภัย Rock Exotica Mini Machined มีให้เลือกใช้งาน 2 แบบ แบ่งเป็น

รอก กู้ภัย Rock Exotica Mini Machined Pulley ชนิดรอกเดี่ยว ขนาด 1.1 นิ้ว ออกแบบและทดสอบเพื่อใช้งานร่วมกันเชือกสูงสุด 11 มม. รับแรงดึงได้ 30 kN (6,744 ปอนด์)

รอก กู้ภัย Rock Exotica Mini Machined Pulley ชนิดรอกคู่ ขนาด 1.1 นิ้ว ออกแบบและทดสอบเพื่อใช้งานร่วมกันเชือกสูงสุด 11 มม. รับแรงดึงได้ 36 kN (8,093 ปอนด์)

รอกกู้ภัย Rock Exotica รุ่น Machined Rescue Pulley ออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบา และสามารถใช้งานกับเชือกพรูสิคได้ โดยที่เงื่อนจะไม่เข้าไปขัดกับล้อรอก เป็นรอกกู้ภัยอีกรุ่น ที่มีขนาดเล็กกว่า รุ่น PMP เหมาะสำหรับงานกู้ภัยในพื้นที่ป่าภูเขา, การทำงานบนที่สูง และใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบเชือก ผลิตจากอลูมิเนียม Alloy 7075 ด้วยเครื่องจักรที่สามารถกำหนดความหนา-บางของจุดที่ต้องการ ช่วยให้รอกมีความทนทานสูง

รอก กู้ภัย Rock Exotica Machined Rescue Pulley ชนิดรอกเดี่ยว ขนาด 1.5 นิ้ว ออกแบบและทดสอบเพื่อใช้งานร่วมกับเชือกสูงสุด 13 มม. รับแรงดึงได้ 36 kN (8,093 ปอนด์)

รอกกู้ภัยที่แนะนำนี้ มีขนาดที่ต่างกัน 3 ขนาด เพื่อการใช้งานร่วมกับเชือกที่มีขนาดต่างกันออกไปครับ ส่วนมากแล้วเชือกที่ใช้ในการโรยตัว หรือใช้กับบุคคลจะมีขนาดไม่เกิน 13 มม. หากใหญ่กว่านี้ จะใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ขนาดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ครับ และควรเป็นเชือกความยืดตัวต่ำ หรือเชือกกู้ภัยแบบมีแกนนอกและแกนใน ที่ได้รับมาตรฐาน NFPA 1983 (มาตรฐานอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในงานเชือกสำหรับช่วยชีวิต) เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ และควรเป็นเชือกชนิดที่เหมาะสำหรับใช้งานกับรอกกู้ภัยโดยเฉพาะ หากไม่มั่นใจในการเลือกใช้งาน สามารถสอบถามได้ครับ

ส่วนการใช้งานรอกกู้ภัยนั้น ผู้ใช้จำเป็นต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง ก่อนจะนำรอกรวมถึงอุปกณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น เชือกและแถบเชือก, คาราบิเนอร์, อุปกรณ์รองเชือก, สายรัดตัว ฯลฯ ไปใช้งาน และต้องมีความชำนาญในการติดตั้งอุปกรณ์ ไม่ว่าจะใช้เพื่องานสันทนาการ หรือใช้ในการทำงานบนที่สูง เช่น การยกของหรือยกบุคคล, สัตว์เลี้ยง ฯ ผู้ใช้งานจะต้องประกอบอุปกรณ์เข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในระหว่างการใช้งาน รอกนั้นเป็นอุปกรณ์ช่วยผ่อนแรง แต่ก็ต้องคำนึงเรื่องการรับน้ำหนัก และแรงกระทำที่เกี่ยวข้องในการติดตั้งร่วมด้วย ซึ่งในบทความต่อไป เราจะนำภาพการใช้งาน เพื่อความเข้าใจและเห็นภาพการทำงานที่ชัดเจนขึ้นมาฝากกันครับ

สอบถามข้อมูลอุปกรณ์ความปลอดภัย และรอกแบบต่างๆเพิ่มเติมได้ที่ www.seaairthai.com หรือจะแวะชมสินค้าตัวอย่างที่ Safe House เรายินดีให้คำปรึกษาครับ

Tags: , , , , , , , , , , ,

Carabiners คาราบิเนอร์ คืออะไร สำคัญอย่างไร

NFPA-G Screw Lock, NFPA-G Auto Lock, NFPA-L Manual Lock, Non-Locking, and HMS Carabiner

คาราบิเนอร์ Carabiners หรือ Karabiner คือ ห่วงเกี่ยวนิรภัย ที่ใช้ประกอบการโรยตัว หรือใช้งานกับเชือกและอุปกรณ์อื่นๆ สามารถใช้เป็นจุดเชื่อมโยง, ยกสิ่งของ, ลากรถ, ใช้เกี่ยวหรือดึงอุปกรณ์ต่างๆ และเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างไร ผมได้รวบรวมข้อมูลมาแบ่งปันกันครับ

คาราบิเนอร์ Carabiners เป็นห่วงเกี่ยวที่มีส่วนของโครงและก้านเปิด ใช้ในการรับน้ำหนักของวัตถุหรือบุคคล โดยยึดโยงน้ำหนักจาก 2 จุดเข้าด้วยกัน ซึ่งคาราบิเนอร์ต้องมีความแข็งแรงมากพอ ที่จะรับนำหนักนั้นๆเอาไว้ และหลายครั้งคาราบิเนอร์ก็มีบทบาท ในการใช้รับน้ำหนักบุคคล ในการกู้ภัย ซึ่งต้องเอาชีวิตคนไปแขวนอยู่บนเชือกและอุปกรณ์ไม่กี่ชิ้น ที่ต้องเลือกใช้งานอย่างเข้าใจ เพราะหากเลือกคาราบิเนอร์ผิดประเภท เจ้าห่วงเล็กๆก็อาจทำให้เกิดอันตรายใหญ่หลวงถึงชีวิตได้เลยทีเดียว

ถูกแยกออกตามประเภทการใช้งาน คาราบิเนอร์ มี 4 ประเภทการใช้งานหลักๆ

1. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่อการใช้งานเชิงกีฬา

2. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้รับน้ำหนักบุคคลคนเดียว งานบนที่สูง หรือการป้องกันตก

3. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่องานกู้ภัย ที่ต้องรับน้ำหนักมากกว่าบุคคลคนเดียว

4. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่อประดับตกแต่ง หรือไม่ได้รับน้ำหนักมาก เช่น ทำเป็นพวงกุญแจหรือของที่ระลึก

How much do you trust your carabiners?

คาราบิเนอร์ที่ใช้เกี่ยวพวงกุญแจ หรือประดับตกแต่ง มักจะมีราคาไม่สูง เช่น ใช้ทำเป็นพวงกุญแจ คล้องถุงมือ, คล้องหูกางเกง ฯ วัตถุประสงค์เพื่อ รับน้ำหนักอุปกรณ์เล็กๆ และไม่มีการระบุอัตราการรับน้ำหนัก ซึ่งไม่ควรจะนำไปใช้ในการป้องกันการตกจากที่สูง หรือใช้ในงานกู้ภัย เพราะอาจเกิดอันตรายได้ คาราบิเนอร์ประเภทนี้ที่รู้จักกันดี คือ Grimlock , Taclink ฯ

คาราบิเนอร์ที่ใช้งานเชิงกีฬา เป็นคาราบิเนอร์ที่ราคาถูกที่สุด ในบรรดาคาราบิเนอร์ ที่มีการระบุอัตราการรับน้ำหนัก และมักจะออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักบุคคลเพียงคนเดียว หลักในการออกแบบคาราบิเนอร์เชิงกีฬา คือ ต้องมีขนาดกะทัดรัดและเบา เช่น คาราบิเนอร์สำหรับปีนเขา, ไต่หน้าผา

คาราบิเนอร์ที่ใช้งานป้องกันตก ถูกออกแบบให้ทนทาน ส่วนมากจะผลิตจากเหล็ก แต่รูปทรงอาจจะดูไม่ทันสมัย และทดสอบการรับน้ำหนักบุคคลคนเดียว เพื่อป้องกันการตกจากที่สูง มาตรฐานความปลอดภัยกำหนดให้ทนแรงดึง ได้ประมาณ 22 Kn.

คาราบิเนอร์ที่ใช้ในงานกู้ัภัย เป็นคาราบิเนอร์ที่ทนต่อการรับน้ำหนักมากที่สุด ในบรรดาคาราบิเนอร์ ซึ่งมาตรฐาน NFPA 1983(2006) กำหนดให้รับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 27 Kn.

ความทนทานของคาราบิเนอร์ ใช้หน่วยวัดเป็นกิโลนิวตัน KiloNewtons (kN) 1 กิโลนิวตัน เท่ากับ 101.97 กิโลกรัมของแรง หรือ Kilogram force วิธีง่ายๆในการจำ คือ 1 กิโลนิวตัน เทียบเท่ากับน้ำหนักคนหนึ่งคน พร้อมด้วยอุปกรณ์ (อุปกรณ์ประจำตัว, อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย) น้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม

ดังนั้นถ้าคาราบิเนอร์ระบุว่า รับน้ำหนักหรือทนแรงดึงได้ 30 kN อาจดูเหมือนทนทานมาก แต่ตัวเลขอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นมาตรฐานความปลอดภัย กำหนดให้ไม่ควรใช้คาราบิเนอร์ รับน้ำหนักเต็มอัตราตามที่ระบุไว้ แต่ควรใช้ปัจจัยด้านความปลอดภัย หรือที่เรียกว่า safety factor ซึ่งเป็นน้ำหนักสูงสุด ที่คาราบิเนอร์สามารถรับได้อย่างปลอดภัย โดยสำหรับงานกู้ภัยทั่วไปจะใช้อัตรา 10:1 ส่วนงานดับเพลิงกู้ภัยจะใช้อัตรา 15:1 เนื่องจากน้ำหนักอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีมาก ดังนั้นถ้าคาราบิเนอร์ทนแรงดึงได้ 30 kN ควรจะใช้รับน้ำหนัก สูงสุดที่ 3 kN หรือประมาณ 300 กิโลกรัม ยิ่งเมื่อต้องใช้รอกทดแรง หรือน้ำหนักที่เคลื่อนไหวเข้ามาเกี่ยวข้อง การรับน้ำหนักคนเพียงคนเดียว สามารถทำให้คาราบิเนอร์หักได้ิอย่างง่ายดาย จากแรงดึงที่เกิดขึ้นในการทดแรงนั้นเอง

ในยุโรป คาราบิเนอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้รับน้ำหนักบุคคล จะต้องผ่านมาตรฐาน EN 362:2004 “ห่วงเกี่ยวนิรภัย สำหรับอุปกรณ์ป้องกันภัยประจำบุคคล ในการป้องกันการตกจากที่สูง ” มาตรฐานนี้ระบุว่า คาราบิเนอร์จะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุด (minimum breaking strength) ที่ 20kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 15kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 7kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด ซึ่งเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของคาราบิเนอร์

ในอเมริกา ใช้มาตรฐานสมาคมดับเพลิงกู้ภัย NFPA 1983 (2006 ed) กำหนดความปลอดภัยของ “เชือกที่ใช้ในการกู้ภัย และอุปกรณ์ที่ใช้งานในสภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้อง” ครอบคลุมคาราบิเนอร์สำหรับ ‘light-use’ เช่น คาราบิเนอร์ที่ออกแบบเพื่อรับน้ำหนักบุคคล โดย NFPA 1983:06 กำหนดให้คาราบิเนอร์ ‘Light-Use’ จะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุดอยู่ที่ 27kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 7kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 7kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด

NFPA 1983:06 ระบุให้แยกประเภทคาราบิเนอร์ เพื่อใช้รับน้ำหนักงานกู้ภัยโดยเฉพาะ เป็นแบบ ‘General-Use’ ซึ่งคาราบิเนอร์ที่ใช้ในงานกู้ภัยจะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุดที่ 40kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 11kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 11kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด โดยที่ NFPA lowered open-gate strength requirements for carabiners are because unlike EN362, NFPA กำหนดให้คาราบิเนอร์มี to have a locking gate mechanism ซึ่งมีมาตรฐานอื่นๆในการกำหนดความปลอดภัย แต่ มาตรฐาน EN362 และ NFPA 1983 เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับ และกำหนดให้แสดงอัตราการรับน้ำหนัก ลงบนคาราบิเนอร์ทุกตัว

ข้อกำหนดตามมาตรฐานมีอีกมากมาย แต่หากคาราบิเนอร์มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ในด้านรูปทรงและลักษณะภายนอก ก็ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ จุดมุ่งหมายในการใช้งานเป็นตัวกำหนดรูปทรง วัสดุ และคุณสมบัติของคาราบิเนอร์ วัสดุที่ใช้ทำคาราบิเนอร์โดยส่วนใหญ่ ทำจากอลูมิเนียม หรือเหล็ก แต่คาราบิเนอร์รุ่นใหม่ทำจากวัสดุพิเศษ เช่น ไทเทเนียม

สำหรับ CMC Rescue เป็นผู้ผลิตคาราบิเนอร์เพื่องานกู้ภัย และมีคาราบิเนอร์ซึ่งทำจากแสตนเลสทุกชิ้นส่วน แม้แต่สปริงด้านใน รูปทรงของคาราบิเนอร์ ส่วนมากมักเป็นรูปตัว D เนื่องจากเป็นรูปทรงที่ช่วยเอื้อให้การรับน้ำหนัก อยู่ในจุดที่แข็งแรงที่สุดของคาราบิเนอร์ได้ง่าย Major Axis และจุดรับน้ำหนักจะอยู่ห่างจากก้านเปิด ช่วยลดอันตรายจากการรับน้ำหนักในจุดที่อ่อนแอที่สุด Minor Axis ลงได้

คาราบิเนอร์ในยุคแรกเริ่ม จะมีก้านเปิดเป็นแบบไม่มีตัวล็อค หรือแบบหมุนล็อคเป็นส่วนมาก

คาราบิเนอร์ที่ใช้ในเชิงกีฬา บางครั้งใช้คาราบิเนอร์ที่ไม่มีระบบล็อค หรือใ้ช้ก้านเปิดแบบลวด เพื่อช่วยลดน้ำหนักอุปกรณ์ ส่วนคาราบิเนอร์แบบใหม่มักใช้ก้านเปิดแบบล็อคอัตโนมัติ Auto-locking หรือบิดหมุนล็อคเข้าสลัก manual-locking คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ จะล็อคทันทีที่ก้านเปิดถูกปิด ซึ่งต้องใช้การบิดและกดเพื่อเปิด 2 ขั้นตอน หรือดันลง แล้วจึงหมุน และกดเพื่อเปิด 3 ขั้นตอน

คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ ช่วยให้เปิดและปิดได้สะดวกรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลว่าจะลืมล็อคคาราบิเนอร์ ส่วนคาราบิเนอร์แบบบิดหมุนล็อค Manual-locking เป็นคาราบิเนอร์ดีไซน์ใหม่ล่าสุด ซึ่งผู้ใช้ต้องบิดเพื่อให้ก้านเปิดเข้าล็อค แทนที่จะใช้การหมุนเกลียวล็อคซึ่งจะล็อคได้ช้ากว่า

นอกเหนือจากการใช้งานที่ง่ายขึ้น คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ และบิดหมุนล็อคเข้าสลัก ยังเป็นคาราบิเนอร์ที่เหมาะกับงาน ที่มีแรงสั่นสะเทือนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแรงสั่นสะเทือนสามารถทำให้คาราบิเนอร์แบบเกลียวหมุน คลายเกลียวออกได้ เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหากต้องใช้งานบนอากาศยาน เช่น เฮลิคอปเตอร์

ยังมีเรื่องราวและข้อสังเกตุเกี่ยวกับคาราบิเนอร์อีกมากมาย เอาไว้่ผมจะมาเล่าในโอกาสต่อไปครับ

Tags: , , , , ,