fbpx

Archive for category Rescue

107 ปี แห่งพัฒนาการ ผ้าพันแผลภาคสนาม

ผมมีเรื่องราวของผ้าพันแผล (bandage) ซึ่งถูกใช้ปฐมพยาบาล และช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บ และเป็นอุปกรณ์การแพทย์ขั้นพื้นฐาน ที่พบเห็นกันบ่อยและแสนจะธรรมดาที่สุด เท่าที่เราจะนึกได้ครับ แต่ผ้าพันแผลนั้นกลับมีเรื่องราว และการพัฒนามายาวนาน พอๆกับการกำเนิดของการแพทย์สมัยใหม่เลยทีเดียว

1941 Red Cross Manual showing how to stop bleeding.

คู่มือกาชาดปี 1941 แสดงการห้ามเลือดโดยการกดจุดชีพจร

ผมคงจะไม่เล่าถึงประวัติความเป็นมาของมันในอดีตมากนัก แต่จะเล่าถึงประโยชน์ จากการใช้ผ้าพันแผลทั้งในอดีต และพัฒนาการของผ้าพันแผลยุคใหม่ ที่หลายท่านยังอาจจะยังไม่เคยทราบครับ

ช่วงก่อนจะเข้าสู่ยุคของการแพทย์สมัยใหม่ (ก่อนปี ค.ศ. 1865 หรือ ราว 150 ปีก่อน) ในการผ่าตัดแต่ละครั้ง ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตจากการติดเชื้อ มากกว่าความรุนแรงของบาดแผลเองเสียเป็นส่วนใหญ่ แพทย์ที่ทำการรักษา ก็มักจะให้ความสำคัญกับการลดการติดเชื้อ จากบาดแผลหลังการผ่าตัด เพราะยุคนั้นเรายังไม่มีค้นพบยาฆ่าเชื้ออย่างเพนิซิลินกันเลย บาดแผลติดเชื้อจึงเป็นปัญหาใหญ่ในการรักษา

ซึ่งต่อมาภายหลังจากการค้นพบยาฆ่าเชื้อ เพนิซิลินก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (ปี ค.ศ.1944 หรือ พ.ศ.2487) ดังนั้นแพทย์สนามและเสนารักษ์ในสงคราม จึงมีความกังวลเรื่องการติดเชื้อในบาดแผลมากกว่าสิ่งอื่นใดครับ

จากจุดนี่เอง การดูแลผู้บาดเจ็บก่อนการนำส่งถึงโรงพยาบาล pre-hospital care จึงเริ่มมีบทบาทสำคัญ ตั้งแต่นาทีที่เกิดเหตุ โดยผู้ช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บ (ก็คือผู้ที่อยู่รอบตัวผู้บาดเจ็บนั่นเอง ซึ่งไม่ใช่แพทย์หรือพยาบาล) จำเป็นต้องทำทุกวิธีทาง ในการช่วยชีวิตคนเจ็บให้รอดจากความตาย จนไปถึงมือหมอได้อย่างปลอดภัย ในสภาวะความกดดันต่างๆ

Femoral Artery

ภาพในห้องทดลอง แสดงเส้นเลือดใหญ่ ที่ต้นขาของสุกร

ในสมัยนั้นคู่มือการปฐมพยาบาล จึงไม่สอนให้เราใช้อุปกรณ์ใดๆกดลงบนบาดแผลโดยตรง เพื่อหยุดเลือดที่ไหลออกอย่างรุนแรงจากเส้นเลือดใหญ่ เนื่องจากกลัวการติดเชื้อ แต่จะสอนการห้ามเลือด โดยการกดจุดชีพจร และยกบาดแผลให้สูงกว่าหัวใจแทน

ซึ่งวิธีนี้มักจะได้ผลในช่วง 15 นาทีแรกเท่านั้น เพราะแรงกดจะเริ่มไม่สม่ำเสมอจากนิ้วที่ล้ากำลังลงของผู้ทำการช่วยเหลือ จากการกดไว้นานๆ หลังจากนั้นจึงมีการแนะนำให้ใช้ สายรัดห้ามเลือด(ทูนิเก้) ในการห้ามเลือดแทนการกดด้วยมือ เพราะสามารถใช้งานได้ผล และยาวนานกว่า หลังจากเลือดแข็งตัวและหยุดไหลแล้ว จึงใช้ผ้าพันแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อ มาปิดทับบนบาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่อไป

ผ้าพันแผลสำหรับใช้งานภาคสนามชนิดแรก จึงถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1904 (ปี พ.ศ.2447) ชื่อว่า คาไลน์ เดรสซิ่ง ตามชื่อค่ายทหารในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มันถูกผลิตจากผ้าก๊อซสีขาว เย็บติดกับผ้าฝ้ายแถบยาวสีเขียวมะกอก และบรรจุกล่องดีบุก ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นบรรจุซองสีน้ำตาล(ปัจจุบันบรรจุซองสีน้ำตาล และใส่ซองพลาสติกใส) เพื่อใช้ปิดบนแผลไม่ให้แผล มีสิ่งสกปรกเข้าไป มันถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งก็เกือบร้อยปีมาแล้วครับ) และในประเทศไทย มันยังคงเป็นผ้าพันแผล ที่มีแจกจ่ายให้ใช้ห้ามเลือด โดยไม่จำแนกความรุนแรงของบาดแผล และมีใช้แพร่หลายทุกเหล่าทัพเลยทีเดียว

แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันไม่ได้ถูกออกแบบให้ใช้ห้ามเลือด ในบาดแผลฉกรรจ์ เช่น บาดแผลถูกยิง, บาดแผลระเบิด ฯ ที่เลือดออกอย่างรุนแรงได้เลย เพราะมันถูกออกแบบมาให้ใช้ปิด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลสกปรก หรือขยายกว้างขึ้นเท่านั้น

Thai Army Carlisle Dressing, Israeli Bandage, and Olaes Bandage

(ขวาสุด) ผ้าพันแผลของไทยเลียนแบบ Carlisle Dressing, (บนสุด) Israeli Bandage และ (ล่างซ้าย) Olaes Bandage

ภายหลังจากที่มีการใช้ยาฆ่าเชื้อ สำหรับป้องกันการติดเชื้อบนบาดแผลได้สำเร็จ ก็ได้มีการนำมาตร การป้องกันการเสียเลือดอย่างรุนแรง มาใช้กับบาดแผลโดยตรง เพราะแพทย์และเสนารักษ์ในสนาม ไม่มีความกังวลว่าจะทำให้คนไข้เสียชีวิต เพราะแผลติดเชื้อเหมือนในอดีตอีกแล้ว การใช้ผ้าก๊อซกดลงโดยตรง ในจุดที่เลือดออกบนบาดแผล จึงเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการหยุดเลือด ผ้าก๊อซที่มีเส้นใยถักทอผสานกันอย่างแน่นหนานั้น ออกแบบเพื่อช่วยให้เกล็ดเลือด เกาะยึดเป็นผนัง และแข็งตัวทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น

แต่ถ้าเป็นบาดแผลที่เลือดออกรุนแรง แพทย์สนามจะใช้วิธีการอัดผ้าก๊อซลงไปในบาดแผล (wound packing) แทนที่จะปิดหรือโปะไว้แต่เพียงปากแผล เพราะตำแหน่งของเส้นเลือดใหญ่นั้น จะอยู่ลึกลงไปใต้ชั้นผิวหนังในบาดแผล ดังนั้นการอัดผ้าก๊อซลงในบาดแผลให้แน่น จะเป็นการสร้างแรงกดบนรอยแตกที่เส้นเลือดใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ในโรงพยาบาลเมื่อ 50 ปีก่อน ห้ามทำโดยเด็ดขาด เพราะไม่ต้องการให้คนไข้ เสียชีวิตจากการที่บาดแผลติดเชื้อ

แต่อย่างที่กล่าวมาในตอนต้นครับว่า ปัจุบันวิทยาการของยารักษาอาการติดเชื้อ และยาฆ่าเชื้อได้พัฒนาไปมากกว่าแค่เพนิซิลินแล้ว ดังนั้นเมื่อมียาฆ่าเชื้อที่ใช้ได้ผล ผ้าพันแผลสำหรับงานภาคสนาม โดยเฉพาะในงานเชิงยุทธวิธีนั้น จึงพัฒนาตามไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงขั้นตอนการใช้งานด้วยเช่นกัน ถ้าจะว่ากันตามจริงแล้ว บาดแผลในสนามรบ ก็ไม่ใช่แผลที่สะอาดตั้งแต่ต้น และก็เป็นการยากที่จะทำให้แผลไม่สกปรกได้ ซึ่งบาดแผลเปิดเหล่านี้ จนแล้วจนรอดก็ต้องได้รับการฆ่าเชื้อ เมื่อนำผู้บาดเจ็บส่งถึงโรงพยาบาล อันเป็นขั้นตอนปกติที่ปฏิบัติกันอยู่แล้ว

ราวๆช่วงปี ค.ศ.1990 จึงได้มีการคิดค้น ผ้าพันแผลสำหรับแพทย์สนาม โดยใช้ชื่อว่า “Israeli Bandage” (อิสราเอลลี่ แบนเดจ) ผ้าพันแผลนี้มีการติดแท่งพลาสติกเสริมแรงกด (pressure bar) เพื่อเพิ่มแรงในการกดลงบนบาดแผล พร้อมผ้ายืดพันแผล ช่วยในการหยุดเลือดให้ดียิ่งขึ้น ผ้าพันแผลอิสราเอลลี่ แบนเดจนั้น ใช้งานได้ดีในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา แต่ปัญหาก็คือ มันใช้ได้ผลแค่เพียงบาดแผลที่ไม่ลึกนัก และในแผลที่เส้นเลือดใหญ่ไม่ได้รับความเสียหาย เพราะแท่งเสริมแรงกดที่เพิ่มขึ้นมานั้น ไม่สามารถสร้างแรงกดได้เพียงพอ ที่จะหยุดเลือดจากเส้นเลือดใหญ่ในแผลฉกรรจ์ได้ ดังนั้นหากเป็นบาดแผลจากการสงคราม เช่น แผลถูกแทง, ถูกยิง หรือบาดแผลจากสะเก็ดระเบิด เราก็ยังต้องใช้ผ้าก๊อซ อัดลงในบาดแผล หรือวิธีการ Wound Packing ร่วมไปกับอิสราเอลลี่ แบนเดจ พร้อมกันทั้งสองอย่างอยู่ดี เพราะอิสราเอลลี่ แบนเดจ มีเพียงก็อซเพื่อปิดเพียงบนปากแผล แต่หากเป็นแผลลึก อิสราเอลลี่ แบนเดจ ก็จะมีประโยชน์ไม่ต่างจากผ้าพันแผลคาไลน์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งทำได้เพียง ปิดป้องกันสิ่งสกปรกเข้าสู่บาดแผลเท่านั้น

Olaes Bandage

ผ้าพันแผล Olaes Bandage

ด้วยเหตุนี้ หลังจากพบข้อด้อยของอิสราเอลลี่ แบนเดจที่ใช้กันมากว่า 20 ปี จึงมีการพัฒนาผ้าพันแผล จนมาถึงยุคของผ้าพันแผลสมัยใหม่อย่าง โอลด์ แบนเดจ (Olaes Bandage) ที่นำเอาข้อดีของอิสราเอลลี่ แบนเดจ และผ้าก๊อซเข้าไว้รวมกันในชิ้นเดียว อลด์ แบนเดสามารถใช้กับบาดแผลทั่วๆไป หรือบาดแผลฉกรรจ์ได้ เพราะผ้าปิดแผลจะช่วยป้องกันบาดแผลจากสิ่งสกปรก และสำหรับบาดแผลที่ลึกลงไป ก็สามารถดึงก๊อซที่อยู่ด้านในห่อผ้าปิดแผล ออกมาอัดลงในบาดแผล โดยวิธี Wound Packing ได้ทันที เพื่อช่วยห้ามเลือด ก่อนที่จะพันรอบบาดแผลด้วยผ้ายืด ทับไปโดยรอบให้แน่นอีกทีหนึ่ง

ผ้าพันแผลโอลด์ แบนเดจ ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหา และปิดข้อด้อยของอิสราเอลลี่ แบนเดจได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังออกแบบให้พันได้ด้วยมือข้างเดียว มีระบบป้องกันผ้ายืดคลายตัว, มีพลาสติกเสริมแรงกด, พร้อมแผ่นไซโลเฟน คล้ายพลาสติกใส ใช้ปิดแผลถูกยิงช่วงอก และยังลดพื้นที่การจัดเก็บ ในกระเป๋าปฐมพยาบาลประจำบุคคล ลงด้วยการบรรจุซองสูญญากาศอีกด้วย

ช่วยลดเวลาในการดูแลผู้บาดเจ็บ และลดขั้นตอนการปฐมพยาบาลลง ให้เหมาะสมกับการใช้ห้ามเลือด ภายใต้สถานการณ์ตึงเครียด เพื่อช่วยผู้บาดเจ็บที่กำลังเสียเลือดอย่างรุนแรง และเสี่ยงต่อการรอดชีวิตได้ทันท่วงที

กล่าวถึงชื่อแปลกๆของโอลด์ แบนเดจ กันสักนิดครับ Olaes Bandage ผู้คิดค้นมันขึ้นมาคือ รอส จอห์นสัน เขาตั้งชื่อผ้าพันแผลนี้ จากชื่อเพื่อนรักของเขาคือ จ่าโทนี่ บี โอลด์ (Staff Sgt. Tony B. Olaes) จ่าโอลด์เป็นเสนารักษ์ประจำกรมรบพิเศษที่ 3 ของกองทัพบกสหรัฐฯ เช่นเดียวกับรอส แต่เขากลับต้องมาเสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 30 ปี จากการถูกซุ่มโจมตีของตาลีบัน ระหว่างลาดตระเวนในจังหวัดปาติก้า ประเทศอัฟกันนิสถาน เดือนกันยายนปี 2004 โดยรอสได้นำเอานามสกุลของเพื่อนรัก มาตั้งเป็นเกียรติและเป็นความทรงจำที่ดีตลอดไปนั่นเองครับ

ต้องยอมรับว่า เรื่องราวของผ้าพันแผลที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้น มาจากการเสียเลือดเนื้อและชีวิต ของทหารทุกเชื้อชาติในยามศึกสงคราม หากไม่มีการสูญเสียเกิดขึ้น การพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ภาคสนามในปัจจุบัน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่แตกต่างจากการช่วยชีวิตในโรงพยาบาล ก็คงไม่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเป็นประโยชน์กับผู้อยู่เบื้องหลัง อย่างผมและทุกท่านเช่นในวันนี้

สนใจเรื่องราวของผ้าพันแผล Olaes Bandage สามารถติดต่อตัวแทนจำหน่ายได้โดยตรงที่ Safe House และสำหรับหน่วยงานราชการ และเจ้าหน้าที่ทุกท่าน เรายินดีเป็นอย่างยิ่งในการตอบคำถาม และข้อสงสัยในอุปกรณ์การช่วยชีวิตภาคสนามครับ

Tags: , , , , , ,

Firefly Plus : ไฟฉายกระพริบได้ ประโยชน์ครบคู่

ACR Firefly Plus

แสงสว่างเป็นเหมือนทุกสิ่งทุกอย่างในยามมืดมนและขับคัน เป็นสิ่งที่คุณต้องการเมื่อแสงจากดวงอาทิตย์หมดไป ไม่ว่าคุณจะอยู่บนทางเดินริมถนน, ขับรถคนเดียวบนถนนสายเปลี่ยวไร้ผู้คน, ลอยเรือในทะเลเคว้งคว้าง หรือตั้งเต้นท์ในป่ารกทึบ ในเวลาแบบนี้ทำให้ผมนึกถึงวลี Light of my life ซึ่งหากเปรียบเป็นหญิงสาว ก็คงเป็นสาวที่ทำให้ชีวิตสว่างสดใส เหมือนแสงไฟกลางความมืด แต่ถ้าเป็นไฟฉายสักกระบอก ก็คงต้องมีคุณสมบัติที่ดีและวางใจได้ ในยามที่แสงอื่นกำลังมืดและจากไป

ในที่ที่ไร้แสงไฟ นอกจากความมืดแล้ว ความเครียด, ความกังวลและความกลัว ของคนมักจะเพิ่มสูงขึ้น และถ้าบังเอิญคุณมีผู้บาดเจ็บอยู่ด้วย คุณคงต้องทำอะไรสักอย่าง ให้ความช่วยเหลือมาถึงตัวคุณให้เร็วที่สุด เพราะในบางครั้งบางที ที่คุณไม่สามารถส่งเสียงตะโกนได้ การมีไฟฉายติดมือ จะช่วยให้คุณสามารถใช้แสงไฟ เพื่อส่งสัญญาณแทนการร้องตะโกน จนสุดเสียงได้อีกทางหนึ่ง

ในเหตุการณ์เช่นเฮลิคอปเตอร์ตก หรือหลงป่า ถ้าคุณอยู่ไกลจากพื้นที่เกิดเหตุ หน่วยกู้ชีพที่เข้าค้นหา อาจคิดว่าไม่มีผู้รอดชีวิต จากการสำรวจบริเวณเกิดเหตุ และไม่พบสัญญาณชีวิตหลงเหลือ ดังนั้นคุณจะต้องใช้สติและอุปกรณ์ทั้งหมดที่มี ในการส่งสัญญานขอความช่วยเหลือ และ 1 ในอุปกรณ์ที่นอกจากไฟฉายแล้ว ไฟกระพริบหรือสโตรป จะสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีท่ามกลางความมืด

เพราะไฟกระพริบนั้น จะช่วยกระจายแสงไปได้ไกล 360 องศา หรือทุกทิศทุกทาง เพื่อให้หน่วยกู้ภัยทั้งทางภาคพื้นและอากาศ ที่อยู่ในรัศมี 1-2 กิโลเมตร มองเห็นแสงสว่างได้ชัดเจน(ในพื้นที่โล่ง)

วันนี้ผมมีข้อมูล ทั้งไฟฉายและไฟกระพริบคุณภาพดี มาแนะนำให้รู้จักครับ

ACR Firefly Plus เป็นไฟกระพริบขอความช่วยเหลือ ที่ออกแบบมาให้มีขนาดกะทัดรัด และมีน้ำหนักเพียง 113 กรัม เล็กเพียงพอที่จะใส่ลงกระเป๋า BC ของนักดำน้ำได้ ส่องสัญญานด้วยโหมดไฟกระพริบ Strobe ได้ไกลสูงสุดถึง 1.7 นาโนเมตร ( 3.2 กิโลเมตร ) โหมด Strobe ส่องสว่างด้วยหลอด Krypton ยาวนาน 10 ชั่วโมง พร้อมด้วยไฟฉายอีกด้านหนึ่ง ที่เปิดต่อเนื่องได้นาน 2 ชั่วโมง โดยใช้ถ่านไฟฉายขนาด AA เพียง 2 ก้อน ตัวกระบอกหรือบอดี้นั้น ผลิตจากพลาสติก ABS คุณภาพสูง จึงทนทานและกันกระแทกได้ดี โคมไฟผลิตจากพลาสติกทนแรงกระแทกพร้อมยาง O-Ring กันน้ำลึกถึง 100 เมตร และสามารถลอยน้ำได้

ACR Firefly Plus เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นล่องเรือ, ตกปลา, Camping, เดินป่า, มันยังดำน้ำได้ลึก 100 เมตร ฯลฯ และยังสามารถพกติดตัว ไว้ใช้ในเวลากลางคืน หรือไว้ส่งสัญญาณแสงในช่วงเวลาคับขันอีกด้วย หากคุณกำลังมองหาคุณสมบัติเหล่านี้อยู่ล่ะก็ แนะนำ ACR Firefly Plus ไว้ใช้เลยครับ ACR Firefly Plus และผลิตภัณฑ์อื่นๆจาก ACR Electronics มีจำหน่ายแล้วที่ Safe House ครับ

คุณลักษณะ
ขนาด : 13.5 x 3.8 ซม.
– น้ำหนัก : 113 กรัม
– วัสดุ : พลาสติก ABS ทนแรงกระแทกสููง
– สี : สีส้มมาตรฐาน สำหรับงานกู้ภัย
– การใช้งาน : หมุนไปทางด้านซ้ายหรือขวา สำหรับใช้งาน Strobe หรือไฟฉาย
– กันน้ำ : 328 ฟุต (100 เมตร)
– สามารถลอยน้ำได้
– Strobe : 360 องศา รอบทิศทาง
– อัตราการกะพริบ : 40 – 60 ครั้งต่อนาที
– หลอดไฟ : Xenon / Krypton
– แบตเตอรี่ : 2 AA Alkaline หรือแบตเตอรี่ลิเธียม 1.5V
– โหมด Strobe : 10 ชั่วโมง
– โหมดไฟฉาย : 2 ชั่วโมง
– รับประกันตามเงื่อนไข 1 ปี

ความทรงจำ ก่อนตะวันจะลับฟ้า พล.ต.ตะวัน เรืองศรี

พล.ต.ตะวัน เรืองศรี ครั้งยังดำรงตำแหน่ง ผบ.จทบ.ก.จ. เยี่ยมชมการฝึกกู้ภัยทางอากาศ

การฝึกกู้ภัยด้วยอากาศยาน ประกอบเปลกู้ภัยทางอากาศ

กว่า 2 ปีมาแล้ว ที่ทีมงานและวิทยากรของ Safe House ได้ทำการฝึกอบรมการกู้ภัยทางอากาศ ชนิดยกนอกตัวอากาศยาน โดยไม่ใช้รอกกว้านไฟฟ้า ซึ่งเป็นการฝึกกู้ภัยทางอากาศขั้นสูง ให้กับกำลังพลของร้อย ลว.ไกล 9 กองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ เพื่อยกระดับศักยภาพการนำส่งทางอากาศยาน ให้กับเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบก การฝึกในครั้งนั้นมีวิทยากรจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ และการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ มาให้ความรู้และฝึกปฏิบัติให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วย เราได้รับรู้ถึงความกระตือรือร้นและสนใจ ของผู้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน จนการฝึกผ่านไปอย่างเรียบร้อยและปลอดภัย ในการอบรมมีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ประกอบการฝึกร่วมกับอากาศยาน โดยได้รับความร่วมมือจากนักบิน และช่างอากาศยานของสนามบิน พล.ร.9 รอ. เป็นอย่างดี

ในช่วงระหว่างการฝึกกับอากาศยาน ผู้บังคับบัญชาระดับสูง พันเอก ตะวัน เรืองศรี ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับการจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี ได้มากำกับดูแลและให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด จากการได้สัมผัสท่านในวันนั้น ทำให้เรารู้ว่าท่านเป็นผู้บังคับบัญชาที่เอาใจใส่ ตรงไปตรงมา เข้าถึงงาน ไม่ถือตัวและให้ความเป็นกันเอง กับพวกเราเป็นอย่างมาก สิ่งแรกที่ท่านย้ำ คือ ความปลอดภัยของกำลังพลต้องมาก่อนสิ่งอื่น ตลอดเวลาท่านคอยสอบถาม และเฝ้าดูอยู่ไม่ห่าง แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่เราได้สัมผัส แต่ภาพในวันนั้น ยังอยู่ในความทรงจำของพวกเราจนปัจจุบัน เป็นภาพอีกมุมหนึ่งที่น้อยคนจะได้เห็น

จากเหตุเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ UH-1H ซึ่งตกในวันที่ 16 ก.ค. บริเวณพื้นที่สันแดนไทย-พม่า ใกล้บริเวณ 1,100 (ระดับความสูงของพื้นที่) ทำให้เราได้เห็น พล.ต.ตะวัน เรืองศรี ผบ. พล. ร.9 อีกครั้งในความพยายามเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุ พร้อมนำเสบียงไปส่งให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ โดยใช้เฮลิคอปเตอร์แบล็คฮอว์กของกองทัพบก ก่อนการเดินทางท่านได้กล่าวกับสื่อมวลชน ถึงขั้นตอนและแผนงานในการลำเลียงผู้เสียชีวิตออกจากพื้นที่เกิดเหตุ และระดมการกู้ภัยทางอากาศ และการเดินเท้าเข้าถึงที่หมาย ซึ่งมีอุปสรรคด้านสภาพอากาศ และเป็นช่วงเวลาที่ฝนพรำประกอบกับทัศนวิสัยปิด ไม่เอื้ออำนวยต่อการบิน แต่ด้วยความตั้งใจให้ภารกิจครั้งนี้จบลงอย่างเรียบร้อย

การเคลื่อนย้ายทางอากาศระยะสั้น โดยไม่ใช้รอกกว้านไฟฟ้า Short Haul with UH-1H

และในฐานะผู้บังคับบัญชากองพล นอกจากความวิตกกังวล ในชะตากรรมของกำลังพลและความทุกข์โศกของครอบครัวผู้เสียชีวิตแล้ว ท่านยังแสดงความจริงใจ ในการแก้ไขปัญหาอย่างสุดความสามารถ โดยไม่มีใครคาดคิดว่า เฮลิคอปเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ และเครื่องยนต์กำลังสูงอย่างแบล็คฮอว์ก ที่ท่านและเจ้าหน้าที่อีก 8 ชีวิตซึ่งโดยสารไปนั้น จะพ่ายแพ้สภาพอากาศที่เลวร้าย และตกในวันที่ 19 ก.ค. ในเขตร่องเขาของประเทศพม่า ซึ่งมีความสูงชัน ชื้น และเป็นป่ารกทึบ ห่างไปจากจุดตกของฮ.ลำแรกเพียงไม่ไกลนัก

จากเหตุการณ์นี้ ท่านแม่ทัพภาคที่ 1 พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร ระดมกำลังทหาร, เจ้าหน้าที่ป่าไม้, เจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการสัตว์ทหารบก พร้อมด้วยเฮลิคอปเตอร์ Bell 212 จำนวน 2 ลำ จากศูนย์การบินทหารบก , เฮลิคอปเตอร์ Bell 212 ของกองบินตำรวจ, เฮลิคอปเตอร์ Bell 412 ของกองค้นหาและช่วยชีวิต ทอ., เฮลิคอปเตอร์ AStar ของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน, เฮลิคอปเตอร์ AStar และ Jet Ranger ของกระทรวงเกษตรฯ ร่วมปฏิบัติการค้นหา จนกระทั่งพบจุดที่แบล็คฮอว์กตกในวันที่ 22 ก.ค. อย่างไร้วี่แววผู้รอดชีวิต

พล.ต.ตะวัน เรืองศรี ดูแลการฝึกกู้ภัยทางอากาศอย่างใกล้ชิด

ซ้ำร้ายในเวลา 9.30 น. ของวันที่ 24 ก.ค. เฮลิคอปเตอร์ Bell 212 ของกองทัพบก ซึ่งกลับจากการนำส่งร่างท่านตะวันและนายศรวิชัย ช่างภาพททบ.5 ที่ พล.ร. 9 จ.กาญจนบุรี โดยแวะบำรุงรักษาเครื่องและสลับชุดนักบินที่กรมทหารราบที่ 11 เขตบางเขน กทม. ได้ตกในขณะบินกลับมาเพื่อสนับสนุนภารกิจ ในจุดที่ห่างจากค่ายรบพิเศษแก่งกระจานไปเพียง 10 กิโลเมตร เป็นเหตุให้จำนวนผู้เสียชีวิตในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 17 คน และช่างเครื่องรอดชีวิตเพียงคนเดียว ซึ่งขณะนี้ปลอดภัยแล้ว นับเป็นความสูญเสียครั้งประวัติศาสตร์ ในภารกิจนอกพื้นที่การรบของศูนย์การบินทบ. และกองทัพบก

การกู้ภัยทางอากาศ และการทำงานร่วมกับอากาศยาน เป็นงานที่ท้าทายและมีความเสี่ยง มีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ตั้งแต่ศักยภาพของเครื่อง ชั่วโมงบิน และวงรอบการนำเครื่องเข้าบำรุงรักษา เครื่องบินสนับสนุน หากต้องส่งเครื่องหลักเข้าซ่ิอมบำรุง ความพร้อมและประสบการณ์ของนักบิน ความชำนาญของช่างอากาศยาน เจ้าหน้าที่กู้ภัยพร้อมอุปกรณ์ ต้องมีระบบการทำงานที่ชัดเจนทุกฝ่าย และอุปกรณ์ต้องเป็นอุปกรณ์เฉพาะทาง สำหรับการทำงานทางอากาศโดยเฉพาะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีมาตรฐานความปลอดภัยกำกับอยู่แล้ว ในทางปฏิบัติต้องทำตามขั้นตอนความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดเช่นกัน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจและผ่านการฝึกซ้อมร่วมกันจนชำนาญ จึงจะสามารถเผชิญกับสถานการณ์จริง ที่ยากลำบากจากปัจจัยแวดล้อมอื่นๆได้ ไม่ใช่เพียงขอสนับสนุนอุปกรณ์ โดยให้เจ้าหน้าที่หน่วยอื่นนำไปปฏิบัติ หรือผู้ที่ไม่ผ่านการอบรมการกู้ภัยกับอากาศยานจะทำได้

การฝึกกู้ภัยในพื้นที่ป่าภูเขา Mountain Rescue

ในการเข้าช่วยเหลือทุกครั้ง ต้องประเมินความเสี่ยง ประเมินสรรพกำลัง และยุทโธปกรณ์ที่มี และวางแผนอย่างรัดกุม การค้นหาและช่วยชีวิตจะประสบความสำเร็จได้นั้น หมายถึงความสำเร็จในการช่วยผู้รอดชีวิตให้พ้นขีดอันตราย หากเริ่มทำได้ ต้องแข่งกับเวลา สภาพอากาศ ฯลฯ แต่หากมีอุปสรรคในการปฏิบัติอาจต้องรอเวลาที่เหมาะสม โดยยึดหลักป้องกันความสูญเสียเพิ่มเติม ลดการเกิดเหยื่อรายใหม่ อย่าเข้าใกล้อันตราย อย่าเสี่ยงทำในสิ่งที่ไม่รู้ ส่วนการเก็บกู้ผู้เสียชีวิตนั้น เป็นเรื่องที่ลดทอนความเร่งด่วนลงได้ และต้องคอยประเมินสถานการณ์ตามความเหมาะสม

ในวันที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย เป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือทางอากาศ ความเสี่ยงของการบินจึงมีสูง กำลังพลเดินเท้าเอง ก็ควรเตรียมพร้อมทั้งอุปกรณ์ยังชีพ มีดเดินป่าคุณภาพสูง อาหารและน้ำบางส่วน โดยอาจจะนำเครื่องกรองน้ำชนิดพกพา ไปแทนการแบกน้ำดื่มซึ่งมีน้ำหนักมาก และมีความรู้ในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากสัตว์มีพิษ มีความรู้การดูแลบาดแผลจากพิษงู มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลภาคสนาม และอุปกรณ์อบอุ่นร่างกาย ซองวิทยุกันน้ำ

หน่วยกู้ภัยเดินเท้า ควรเตรียมอุปกรณ์เชือกกู้ภัยสำหรับป่า-ภูเขา ส่วนเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ ซึ่งเข้าถึงที่เกิดเหตุ ควรมีอุปกรณ์ช่วยชีวิต เพื่อเตรียมปฐมพยาบาลก่อนการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปด้วย เราเชื่อว่าบทเรียนจากความสูญเสียครั้งนี้ จะทำให้กองทัพทุกภาคส่วน ที่มีภารกิจในภูมิประเภทที่เป็นป่าเขา ครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างใหญ่ และเป็นชายแดนรอยต่อของประเทศ ต่างต้องเตรียมแผนการกู้ภัยให้พร้อม เพื่อรองรับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน ทั้งจากภารกิจทางการทหาร หรือภารกิจร่วมในการบรรเทาสาธารณภัย เพื่อเข้าถึงที่เกิดเหตุ และช่วยเหลือทหารทุกชั้นยศ ที่ประสบอุบัติเหตุจากปัจจัยต่างๆให้ปลอดภัย ได้อย่างทันท่วงทีเท่าที่จะทำได้

เพราะเราสูญเสียนักบินและช่างเครื่องไปมากเกินพอ เราขาดผู้บังคับบัญชาที่เคารพรักไปหลายท่าน เราสูญเสียนายทหารที่กำลังจะเติบโตเป็นผู้นำหน่วย ถึงแม้จะทุ่มเทงบประมาณมากมายเพียงไร ก็สายเกินกว่าจะเรียกชีวิตที่สูญไปกลับคืนมาได้ ในขณะที่การเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุ รวมทั้งการอบรมเพิ่มศักยภาพกำลังพล และจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม เป็นงบประมาณที่น้อยนิด เมื่อเทียบกับสิ่งที่สูญเสียไป และเป็นความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งต้องดำเนินการ

วันนี้หากกองทัพพร้อมเดินหน้า เราก็พร้อมที่จะสนับสนุนทั้งอุปกรณ์, ผู้ชำนาญการ และสิ่งที่เรามี อย่างสุดความสามารถ แม้วันนี้ตะวันจะลับฟ้าไปแล้ว แต่เรายังรอที่จะห็นแสงในยามเช้า ช่วยส่องทางให้กองทัพก้าวต่อไป ด้วยกำลังใจที่เข้มแข็ง ขอให้ดวงวิญญาณผู้เสียสละทุกท่าน สถิตย์อยู่ในสุขคติสัมปรายภพชั่วกาลนาน แม้ในครั้งนี้เราจะนำพวกท่านออกมาไม่ได้ อย่างมีลมหายใจ แต่เราจะทำทุกทาง ไม่ให้ความสูญเสียแบบนี้เกิดขึ้นอีก

Tags: , , ,

บอกลาถุงทะเล กับกระเป๋า Mad water

หากคุณกำลังมองหากระเป๋า ที่สามารถใช้เป็นกระเป๋าสะพาย และคาดเอวไปไหนๆได้ทุกที่ ขนาดกำลังดีไม่เล็กไม่ใหญ่ เพราะว่าทริปนั้นของคุณจะต้องล่องเรือ ฝ่ากระแสน้ำ, ปีนถ้ำ, ลอดน้ำตก หรือดำน้ำดูปะการัง ในขณะที่เจ้า GPS และ iphone สุดรักก็ไม่ค่อยอยากจะให้อยู่ห่างตัวเท่าไหร่ แต่ก็เบื่อหน่ายกับ ถุงทะเลและถุงกันน้ำรูปแบบเดิมๆ ซึ่งจะควานหาของแต่ละที ก็เหนื่อยใจกว่าจะเจอ ดีไม่ดีอยากจะหยิบของใช้เล็กๆสักที ก็จะต้องเทกระจาด กวาดทุกอย่างออกมา แล้วจับสัมภาระโยนลงถุงอยู่ร่ำไป

แต่สำหรับ Mad water คือทางเลือกใหม่ของกระเป๋า ที่สามารถกันน้ำได้ 100% มาในรูปทรงที่ทันสมัยไม่ซ้ำใคร ช่วยให้คุณเก็บอุปกรณ์ประจำตัว เพื่อใช้ในภารกิจสมบุกสมบันได้ทุกรูปแบบ คราวนี้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ที่แสนจะบอบบางของคุณ ก็ไม่ต้องแยกเก็บห่างตัวอีกต่อไป ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าถุงกันน้ำ ถุงทะเลหน้าตาเดิมๆทั่วไป

โดยเฉพาะ Mad Water Waterproof Waist Pack เป็นกระเป๋ากันน้ำแบบคาดเอว ที่สามารถกันน้ำได้ลึกถึง 16 ฟุต ตัวกระเป๋าผลิตจากไนลอนและฉาบด้วย PVC เย็บตัวผ้าติดกันถาวรด้วยระบบคลื่นไมโครเวฟ (RF welding) จึงทำให้ผ้าทั้ง 2 ชิ้น เชื่อมติดกันถึงชั้นโมเลกุลเลยทีเดียว ทำให้ตัวกระเป๋ามีความแข็งแรงสูง และไม่มีช่องว่างให้น้ำผ่านเข้าไปด้านในกระเป๋าได้

ระบบล็อคของ Mad Water ที่เรียกว่า Quick-Zip™ เป็นสิทธิบัตรเฉพาะของ Mad water เท่านั้น และด้านข้างยังมีช่องแยกเก็บอุปกรณ์ต่างๆ โดยมีช่องใส่ขวดน้ำขนาด 22 ออนซ์ได้ 2 ขวด และกระเป๋าเอนกประสงค์ ซึ่งใช้ผ้าตาข่ายเพื่อให้เห็นอุปกรณ์ภายในได้ชัดเจน เปิดและปิดด้วยแถบ Velcro พร้อมรูระบายน้ำ แถมยังมีคลิปก้ามปูอเนกประสงค์แบบถอดได้ โดยมีห่วงเกี่ยวพลาสติกพร้อมลูกหมุน และคลิปแบบห่วงเชือก ให้คุณเลือกพกพาอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเดินทาง โดยจะใส่คล้องกับพวงกุญแจ, ไฟฉาย, ไฟกระพริบ หรือเข็มทิศ ฯได้ตามต้องการ

อีกทั้ง Mad Water Waterproof Waist Pack ยังออกแบบมาให้สามารถต่อเข้ากับ Action Sports Waterproof Hydration Pack หรือ Angler’s Chest Pack ซึ่งเป็นกระเป๋าตระกูล Mad Water ที่ผมจะแนะนำให้รู้จักต่อไปได้อีกด้วยครับ

การใช้งาน Mad Water Waterproof Waist Pack

  • ตรวจสอบตัวสไลด์ของซิป ให้อยู่สุดทางด้านใดด้านหนึ่ง โดยเลื่อนไปมา
  • การเปิดกระเป๋า ทำโดยดึงหูจับที่อยู่ระหว่าง ช่องปิด-เปิดกระเป๋า ตรงนี้จะต้องออกแรงดึง เพื่อเปิดพอสมควรครับ เพราะเป็นระบบกันน้ำจึงแน่นหนา
  • การปิดทำได้โดย ดึงตัวสไลด์ให้สุดด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้นครับ

ข้อควรระวัง
เพื่อยืดอายุการใช้งานควรใช้ Z3 Grease ซึ่งเป็นครีมหลอดเล็ก ที่แถมมาให้ทาเคลือบ Quick-Zip™ บางๆ เพื่อการหล่อลื่น และบำรุงรักษา Quick-Zip™  ให้คงสภาพการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ Z3 Grease ไม่เป็นสารพิษต่อร่างกาย และสามารถใช้มือเปล่าสัมผัสได้โดยตรง โดยไม่เกิดผลข้างเคียงครับ

  • ขนาด : 6 x 25 นิ้ว
  • ความลึก :  5″
  • ความจุ : 4.5 ลิตร
  • น้ำหนักรวม : 12.5 ออนซ์

กระเป๋าคาดเอวกันน้ำ Mad Water Waterproof Waist Pack และสินค้าอื่นๆของ Mad Water มีจำหน่ายแล้ววันนี้ที่ Safe House ตัวแทนจำหน่าย Mad Water ครับ

Tags: , ,

Escape Artist System ชุดเชือกโรยตัวประจำบุคคล

พูดถึงอุปกรณ์หนีภัยบนอาคาร สำหรับพกพาประจำตัว สำหรับผู้ที่มีทักษะการโรยตัว ผมขอแนะนำชุดเชือกหนีภัยจากที่สูง Escape bailout kit สำหรับผู้มีทักษะการโรยตัวมาแนะนำ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถ ให้ภารกิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ, นักดับเพลิง ฯ ในการหนีภัยบนที่สูง กรณีที่ต้องหนีออกจากตัวอาคาร หรือเข้าถึงพื้นที่ด้านล่างอย่างเร่งด่วน เป็นการอพยพฉุกเฉินก่อนเกิดอันตราย

ระบบเชือกหนีภัยบนที่สูง สำหรับงานทางยุทธวิธี จาก CMC ผู้ผลิตอุปกรณ์กู้ภัยชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา

CMC Survivor Tactical Escape Artist นั้น เป็นระบบการหนีภัยจากตัวอาคาร ในกรณีที่ต้องอพยพฉุกเฉิน เช่น ในขณะที่ตึกกำลังจะถล่ม หรือกรณีที่ไม่สามารถลงไปสู่ชั้นล่างของอาคารได้ เหมาะสำหรับใช้โรยตัวเฉพาะบุคคล สามารถใช้ได้เมื่อจำเป็นต้องลงทางดิ่งฉุกเฉิน ที่ความสูง 50 ฟุต ซึ่งเทียบได้กับตึกสูง 5 ชั้น เหมาะสำหรับการใช้งานทางยุทธวิธี ซึ่งผู้ใช้งานมีความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์อยู่แล้ว

สำหรับการควบคุมความเร็วในการลงทางดิ่งนั้น สามารถควบคุมได้ด้วยอุปกรณ์ CMC Escape Artist ที่มีมาในชุด ซึ่งใช้งานได้ง่าย เพียงนำคาราบิเนอร์ด้านหนึ่ง ไปเกี่ยวกับเสา หรือหลักของอาคารที่มีความมั่นคง สามารถรับน้ำหนักตัวผู้ใช้และแรงกระชากที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการลงให้เร็วขึ้น ก็แค่บีบคันโยกเข้าหากันเท่านั้น เพื่อปลดเฟืองล็อคเชืิอก และยังปลอดภัยด้วยระบบเบรคอัตโนมัติ เมื่อปล่อยมือจากก้านโยก

การออกแบบถูกทำมาให้มีน้ำหนักเบา เพียง 1.3 kg (รวมเชือกสำหรับโรยตัวความยาว 50 ฟุต) ผู้ใช้เพียงมีอุปกรณ์เสริม เช่น สายรัดตัวหรือฮาร์เนสแบบครึ่งตัว หรือฮาร์เนสแบบเต็มตัว หากจำเป็นจะต้องใช้ร่วมกับเข็มขัดโรยตัว ก็สามารถทำได้

อุปกรณ์ทุกชิ้นของ CMC Survivor Tactical Escape Artist ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย UL Classified to NFPA 1983 Edition 2006 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับหมวดงานอุปกรณ์เชือกกู้ภัย ที่แตกต่างจากอุปกรณ์โรยตัวเชิงกีฬา หรืออุปกรณ์ปีนเขาทั่วไป

ในชุดประกอบด้วย

  • คาราบิเนอร์ CMC ProTech Screw-Lock 2 ตัว
  • อุปกรณ์ชะลอการโรยตัวลง CMC Escape Artist 1 ตัว
  • เชือกกู้ภัยยาว 50 ฟุต ทนแรงดึง 18.6 กิโลนิวตัน (รับน้ำหนักบุคคล พร้อมอุปกรณ์ได้ 186 กก.) 1 เส้น
  • กระเป๋าเก็บอุปกรณ์ 1 ใบ
  • สีดำ สำหรับงานทางยุทธวิธี

เพื่อความปลอดภัย โปรดสอบถามข้อมูลจาก Safe house ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอณุญาติโดยตรงจากผู้ผลิต 

Tags: ,

Carabiners คาราบิเนอร์ คืออะไร สำคัญอย่างไร

NFPA-G Screw Lock, NFPA-G Auto Lock, NFPA-L Manual Lock, Non-Locking, and HMS Carabiner

คาราบิเนอร์ Carabiners หรือ Karabiner คือ ห่วงเกี่ยวนิรภัย ที่ใช้ประกอบการโรยตัว หรือใช้งานกับเชือกและอุปกรณ์อื่นๆ สามารถใช้เป็นจุดเชื่อมโยง, ยกสิ่งของ, ลากรถ, ใช้เกี่ยวหรือดึงอุปกรณ์ต่างๆ และเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างไร ผมได้รวบรวมข้อมูลมาแบ่งปันกันครับ

คาราบิเนอร์ Carabiners เป็นห่วงเกี่ยวที่มีส่วนของโครงและก้านเปิด ใช้ในการรับน้ำหนักของวัตถุหรือบุคคล โดยยึดโยงน้ำหนักจาก 2 จุดเข้าด้วยกัน ซึ่งคาราบิเนอร์ต้องมีความแข็งแรงมากพอ ที่จะรับนำหนักนั้นๆเอาไว้ และหลายครั้งคาราบิเนอร์ก็มีบทบาท ในการใช้รับน้ำหนักบุคคล ในการกู้ภัย ซึ่งต้องเอาชีวิตคนไปแขวนอยู่บนเชือกและอุปกรณ์ไม่กี่ชิ้น ที่ต้องเลือกใช้งานอย่างเข้าใจ เพราะหากเลือกคาราบิเนอร์ผิดประเภท เจ้าห่วงเล็กๆก็อาจทำให้เกิดอันตรายใหญ่หลวงถึงชีวิตได้เลยทีเดียว

ถูกแยกออกตามประเภทการใช้งาน คาราบิเนอร์ มี 4 ประเภทการใช้งานหลักๆ

1. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่อการใช้งานเชิงกีฬา

2. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้รับน้ำหนักบุคคลคนเดียว งานบนที่สูง หรือการป้องกันตก

3. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่องานกู้ภัย ที่ต้องรับน้ำหนักมากกว่าบุคคลคนเดียว

4. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่อประดับตกแต่ง หรือไม่ได้รับน้ำหนักมาก เช่น ทำเป็นพวงกุญแจหรือของที่ระลึก

How much do you trust your carabiners?

คาราบิเนอร์ที่ใช้เกี่ยวพวงกุญแจ หรือประดับตกแต่ง มักจะมีราคาไม่สูง เช่น ใช้ทำเป็นพวงกุญแจ คล้องถุงมือ, คล้องหูกางเกง ฯ วัตถุประสงค์เพื่อ รับน้ำหนักอุปกรณ์เล็กๆ และไม่มีการระบุอัตราการรับน้ำหนัก ซึ่งไม่ควรจะนำไปใช้ในการป้องกันการตกจากที่สูง หรือใช้ในงานกู้ภัย เพราะอาจเกิดอันตรายได้ คาราบิเนอร์ประเภทนี้ที่รู้จักกันดี คือ Grimlock , Taclink ฯ

คาราบิเนอร์ที่ใช้งานเชิงกีฬา เป็นคาราบิเนอร์ที่ราคาถูกที่สุด ในบรรดาคาราบิเนอร์ ที่มีการระบุอัตราการรับน้ำหนัก และมักจะออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักบุคคลเพียงคนเดียว หลักในการออกแบบคาราบิเนอร์เชิงกีฬา คือ ต้องมีขนาดกะทัดรัดและเบา เช่น คาราบิเนอร์สำหรับปีนเขา, ไต่หน้าผา

คาราบิเนอร์ที่ใช้งานป้องกันตก ถูกออกแบบให้ทนทาน ส่วนมากจะผลิตจากเหล็ก แต่รูปทรงอาจจะดูไม่ทันสมัย และทดสอบการรับน้ำหนักบุคคลคนเดียว เพื่อป้องกันการตกจากที่สูง มาตรฐานความปลอดภัยกำหนดให้ทนแรงดึง ได้ประมาณ 22 Kn.

คาราบิเนอร์ที่ใช้ในงานกู้ัภัย เป็นคาราบิเนอร์ที่ทนต่อการรับน้ำหนักมากที่สุด ในบรรดาคาราบิเนอร์ ซึ่งมาตรฐาน NFPA 1983(2006) กำหนดให้รับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 27 Kn.

ความทนทานของคาราบิเนอร์ ใช้หน่วยวัดเป็นกิโลนิวตัน KiloNewtons (kN) 1 กิโลนิวตัน เท่ากับ 101.97 กิโลกรัมของแรง หรือ Kilogram force วิธีง่ายๆในการจำ คือ 1 กิโลนิวตัน เทียบเท่ากับน้ำหนักคนหนึ่งคน พร้อมด้วยอุปกรณ์ (อุปกรณ์ประจำตัว, อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย) น้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม

ดังนั้นถ้าคาราบิเนอร์ระบุว่า รับน้ำหนักหรือทนแรงดึงได้ 30 kN อาจดูเหมือนทนทานมาก แต่ตัวเลขอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นมาตรฐานความปลอดภัย กำหนดให้ไม่ควรใช้คาราบิเนอร์ รับน้ำหนักเต็มอัตราตามที่ระบุไว้ แต่ควรใช้ปัจจัยด้านความปลอดภัย หรือที่เรียกว่า safety factor ซึ่งเป็นน้ำหนักสูงสุด ที่คาราบิเนอร์สามารถรับได้อย่างปลอดภัย โดยสำหรับงานกู้ภัยทั่วไปจะใช้อัตรา 10:1 ส่วนงานดับเพลิงกู้ภัยจะใช้อัตรา 15:1 เนื่องจากน้ำหนักอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีมาก ดังนั้นถ้าคาราบิเนอร์ทนแรงดึงได้ 30 kN ควรจะใช้รับน้ำหนัก สูงสุดที่ 3 kN หรือประมาณ 300 กิโลกรัม ยิ่งเมื่อต้องใช้รอกทดแรง หรือน้ำหนักที่เคลื่อนไหวเข้ามาเกี่ยวข้อง การรับน้ำหนักคนเพียงคนเดียว สามารถทำให้คาราบิเนอร์หักได้ิอย่างง่ายดาย จากแรงดึงที่เกิดขึ้นในการทดแรงนั้นเอง

ในยุโรป คาราบิเนอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้รับน้ำหนักบุคคล จะต้องผ่านมาตรฐาน EN 362:2004 “ห่วงเกี่ยวนิรภัย สำหรับอุปกรณ์ป้องกันภัยประจำบุคคล ในการป้องกันการตกจากที่สูง ” มาตรฐานนี้ระบุว่า คาราบิเนอร์จะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุด (minimum breaking strength) ที่ 20kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 15kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 7kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด ซึ่งเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของคาราบิเนอร์

ในอเมริกา ใช้มาตรฐานสมาคมดับเพลิงกู้ภัย NFPA 1983 (2006 ed) กำหนดความปลอดภัยของ “เชือกที่ใช้ในการกู้ภัย และอุปกรณ์ที่ใช้งานในสภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้อง” ครอบคลุมคาราบิเนอร์สำหรับ ‘light-use’ เช่น คาราบิเนอร์ที่ออกแบบเพื่อรับน้ำหนักบุคคล โดย NFPA 1983:06 กำหนดให้คาราบิเนอร์ ‘Light-Use’ จะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุดอยู่ที่ 27kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 7kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 7kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด

NFPA 1983:06 ระบุให้แยกประเภทคาราบิเนอร์ เพื่อใช้รับน้ำหนักงานกู้ภัยโดยเฉพาะ เป็นแบบ ‘General-Use’ ซึ่งคาราบิเนอร์ที่ใช้ในงานกู้ภัยจะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุดที่ 40kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 11kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 11kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด โดยที่ NFPA lowered open-gate strength requirements for carabiners are because unlike EN362, NFPA กำหนดให้คาราบิเนอร์มี to have a locking gate mechanism ซึ่งมีมาตรฐานอื่นๆในการกำหนดความปลอดภัย แต่ มาตรฐาน EN362 และ NFPA 1983 เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับ และกำหนดให้แสดงอัตราการรับน้ำหนัก ลงบนคาราบิเนอร์ทุกตัว

ข้อกำหนดตามมาตรฐานมีอีกมากมาย แต่หากคาราบิเนอร์มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ในด้านรูปทรงและลักษณะภายนอก ก็ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ จุดมุ่งหมายในการใช้งานเป็นตัวกำหนดรูปทรง วัสดุ และคุณสมบัติของคาราบิเนอร์ วัสดุที่ใช้ทำคาราบิเนอร์โดยส่วนใหญ่ ทำจากอลูมิเนียม หรือเหล็ก แต่คาราบิเนอร์รุ่นใหม่ทำจากวัสดุพิเศษ เช่น ไทเทเนียม

สำหรับ CMC Rescue เป็นผู้ผลิตคาราบิเนอร์เพื่องานกู้ภัย และมีคาราบิเนอร์ซึ่งทำจากแสตนเลสทุกชิ้นส่วน แม้แต่สปริงด้านใน รูปทรงของคาราบิเนอร์ ส่วนมากมักเป็นรูปตัว D เนื่องจากเป็นรูปทรงที่ช่วยเอื้อให้การรับน้ำหนัก อยู่ในจุดที่แข็งแรงที่สุดของคาราบิเนอร์ได้ง่าย Major Axis และจุดรับน้ำหนักจะอยู่ห่างจากก้านเปิด ช่วยลดอันตรายจากการรับน้ำหนักในจุดที่อ่อนแอที่สุด Minor Axis ลงได้

คาราบิเนอร์ในยุคแรกเริ่ม จะมีก้านเปิดเป็นแบบไม่มีตัวล็อค หรือแบบหมุนล็อคเป็นส่วนมาก

คาราบิเนอร์ที่ใช้ในเชิงกีฬา บางครั้งใช้คาราบิเนอร์ที่ไม่มีระบบล็อค หรือใ้ช้ก้านเปิดแบบลวด เพื่อช่วยลดน้ำหนักอุปกรณ์ ส่วนคาราบิเนอร์แบบใหม่มักใช้ก้านเปิดแบบล็อคอัตโนมัติ Auto-locking หรือบิดหมุนล็อคเข้าสลัก manual-locking คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ จะล็อคทันทีที่ก้านเปิดถูกปิด ซึ่งต้องใช้การบิดและกดเพื่อเปิด 2 ขั้นตอน หรือดันลง แล้วจึงหมุน และกดเพื่อเปิด 3 ขั้นตอน

คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ ช่วยให้เปิดและปิดได้สะดวกรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลว่าจะลืมล็อคคาราบิเนอร์ ส่วนคาราบิเนอร์แบบบิดหมุนล็อค Manual-locking เป็นคาราบิเนอร์ดีไซน์ใหม่ล่าสุด ซึ่งผู้ใช้ต้องบิดเพื่อให้ก้านเปิดเข้าล็อค แทนที่จะใช้การหมุนเกลียวล็อคซึ่งจะล็อคได้ช้ากว่า

นอกเหนือจากการใช้งานที่ง่ายขึ้น คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ และบิดหมุนล็อคเข้าสลัก ยังเป็นคาราบิเนอร์ที่เหมาะกับงาน ที่มีแรงสั่นสะเทือนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแรงสั่นสะเทือนสามารถทำให้คาราบิเนอร์แบบเกลียวหมุน คลายเกลียวออกได้ เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหากต้องใช้งานบนอากาศยาน เช่น เฮลิคอปเตอร์

ยังมีเรื่องราวและข้อสังเกตุเกี่ยวกับคาราบิเนอร์อีกมากมาย เอาไว้่ผมจะมาเล่าในโอกาสต่อไปครับ

Tags: , , , , ,